วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

โอทอปสุดยอดนครนายก

กล้วย เผือก มันทอด สินค้าโอทอปในกลุ่มของขนมขบเคี้ยวเป็นของฝากที่ได้รับความนิยมในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจากจังหวัดนครนายกเป็นแหล่งผลิตสำคัญที่มีการผลิตสินค้าประเภทนี้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งต่างมารับกล้วย เผือก มันทอด จากจังหวัดนครนายกไปจำหน่าย ซึ่งหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตชื่อดังประจำจังหวัด คือ กลุ่มสตรีบ้านคลองสี่เสียด ที่ผลิตกล้วย เผือก มันทอดที่รู้จักกันในชื่อ กล้วยทอด "ผู้ใหญ่หนู" สำหรับชื่อ "ผู้ใหญ่หนู" ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นชื่อเล่นของผู้ใหญ่บ้านคลองสี่เสียด จ.นครนายก ส่วนผู้เป็นเจ้าของสูตรและต้นตำรับฝีมือการทอดกล้วย คือ นางอรุณ สมตน ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ใหญ่หนูโดยจุดเริ่มต้นในฐานะภรรยาผู้ใหญ่หนู จำเป็นต้องช่วยสามีในการช่วยหาอาชีพให้แก่ชาวบ้านและช่วยสามีในการหาเงินเข้าบ้านอีกทางหนึ่ง โดยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาได้หันมารวมกลุ่มชาวบ้านสร้างอาชีพทำกล้วย เผือกและมันทอดขาย

เพิ่มคำอธิบายภาพทั้งนี้ เริ่มจากการที่สมาชิกในกลุ่มปลูกกล้วยกันทุกบ้าน ผลผลิตกล้วยที่ได้เมื่อนำไปขายก็ไม่ได้เงินมากนัก จึงได้ทดลองนำกล้วย ที่หาได้ในหมู่บ้านมาลองทำกล้วยทอด หรือ ที่เรียกกันว่ากล้วยฉาบขาย เริ่มจากการทำขายเล็กๆ น้อยๆ ส่งขายตามร้านขายของฝากในจังหวัดนครนายก ต่อมาได้มีการทดลองนำวัตถุดิบตัวอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ในหมู่บ้านใกล้เคียงในจังหวัดนครนายก อย่าง เผือก และมันมาทดลองทอดดูบ้างในลักษณะเช่นเดียวกับกล้วย ปรากฎว่าเมื่อนำออกขายผลตอบรับออกมาดีจึงได้ทำเผือก และมันทอดขายร่วมกับกล้วยทอดมาตลอด

เพิ่มคำอธิบายภาพปัจจุบัน ทางกลุ่มมีสินค้าที่ผลิตออกขาย 3 ชนิด 2 รสชาติ ได้แก่ กล้วยทอดรส เค็ม หวาน เผือกทอด รส เค็ม หวาน และมันทอดรส เค็ม หวาน ส่วนที่ขายดี ก็ต้องกล้วยรสหวาน และเผือกรสเค็ม ซึ่งราคาทุกชนิดจะขายในราคาเดียวกัน โดยราคาขายส่งอยู่ที่ขีดละ 10 บาท ส่วนการแพคใส่ถุงและกล่องราคาจะแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 2 ขนาดคือ ขนาดถุงเล็ก ส่ง 10 บาท ขนาดใหญ่ขายส่งถุงละ 25 บาท โดยได้มีการปรับราคาขึ้นมาจากภาวะราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเดิมถุงเล็กส่งถุงละ 8 บาท ส่วนถุงขนาดใหญ่ เดิมส่งถุงละ 20บาท


เพิ่มคำอธิบายภาพส่วนแหล่งจำหน่ายสินค้าจะเป็นร้านขายของฝากในจังหวัดนครนายก และจังหวัดใกล้เคียง และการออกงานแสดงสินค้าโอทอป ภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงที่ได้ให้ทางกลุ่มไปร่วมออกงานด้วย ทั้งนี้การทำตลาดของกล้วยทอด กลุ่มสตรีบ้านคลองสี่เสียด จะอาศัยการออกตะเวนนำสินค้าไปวางจำหน่ายตามจุดต่างภายในจังหวัดนครนายก และมีจังหวัดใกล้เคียงมารับสินค้าไปขาย และเนื่องจากปัจจุบันมีผู้ผลิตที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงทำสินค้าประเภทนี้ออกมาเช่นกัน ทำให้ขยายตลาดออกไปได้ไม่กว้างมากนัก

ความสดใสเริ่มได้ที่นครนายก

ช่วงนี้ฝนค่อนข้างตกชุก คงไม่เหมาะที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวไหนไกลๆ เลยอยากจะชักชวนให้ไปเที่ยว จ.นครนายก ซึ่งอยู่ใกล้ๆแค่นี้เอง ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชม.ก็คงจะถึง เรียกว่าไปเช้า-เย็นกลับได้อย่างสบาย หรือจะนอนพักค้างคืนฟังเสียงฝนก็ยังพอไหว

บางคนอาจจะถามว่านครนายกมีอะไรน่าสนใจบ้าง เผอิญได้มีโอกาสไป จ.นครนายกเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เลยเก็บภาพเอาบรรยากาศมาฝากกัน เผื่อจะเป็นข้อมูลสำหรับคนที่หาแหล่งท่องเที่ยวใกล้ๆกรุงบ้าง

http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9812170/E9812170.html

สูดอากาศบริสุทธิที่นครนายก

ตะวันขึ้นที่ท่าด่าน


การเดินทางไปจังหวัดนครนายก
รถยนต์ 

จากกรุงเทพฯ ไปได้ 2 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางแรก ไปตามทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ ระยะทางประมาณ 105 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวขวาที่แยกหินกองไปตามถนนสุวรรณศร (ทางหลวงหมายเลข 33) จนถึงนครนายกระยะทางประมาณ 137 กิโลเมตร
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร 0814379695

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

รสชาติดีมีที่เดียว

         
          มะปรางและมะยงเป็นพืชกลุ่มเดียวกัน ดูภายนอกนั้นแทบจะแยกไม่ออกหากไม่ได้ชิมดูก่อน มะปรางมีลักษณะรสชาติ ทั้งหวานจัด, หวานอมเปรี้ยว
และเปรี้ยวจัด บางครั้งผลมีลักษณะค้อนข้างใหญ่เท่าไข่ไก่ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักจึงมีราคาค้อนข้างสูงไปด้วย มะยงเมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองส้มสดใส ผลใหญ่กว่ามะปราง
มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มะปรางและมะยงเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก มีการจัดประกวดมะปรางและมะยงกันประจำทุกปี ในชื่องาน "มะยงชิดมะปรางหวาน"
ณ บริเวณสนามข้างศาลากลางจังหวัดนครนายก อำเภอเมืองนครนายก เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเพาะพันธุ์มะปรางให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งสร้างอาชีพ และส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
         
ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ